วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2551

ประวัติพังงา












อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

พังงา เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าเขา พังงา มีพื้นที่ 4,170.895 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 788 กิโลเมตร ชื่อของจังหวัด พังงา นั้นเดิมน่าจะเรียกว่า “เมืองภูงา” ตามชื่อเขางา หรือเขาพังงา ซึ่งอยู่ในตัวเมืองพังงาในปัจจุบัน
เมื่อตั้งเมืองขึ้นจึงเรียกกันว่า “เมืองภูงา” เมืองภูงานี้อาจจะตั้งชื่อให้คล้องจองเป็นคู่กับเมืองภูเก็ตมาแต่เดิมก็ได้ แต่เหตุที่เมืองภูงากลายเป็นเมืองพังงานั้น สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากเมืองภูงาเป็นเมืองที่มีแร่อุดมสมบูรณ์จึงมีฝรั่งมาติดต่อซื้อขายแร่ดีบุกกันมาก และฝรั่งเหล่านี้คงจะออกเสียงเมืองภูงาเป็นเมือง “พังงา” เพราะแต่เดิมฝรั่งเขียนเมืองภูงาว่า PHUNGA หรือ PUNGA ซึ่งอาจอ่านว่า ภูงา หรือจะอ่านว่า พังงา หรือ พังกา ก็ได้ ประวัติศาสตร์เมืองพังงา จากพงศาวดารปรากฏว่าก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้น เมืองพังงาเป็นเมืองแขวงขึ้นอยู่กับเมืองตะกั่วป่า จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองเทียบเท่าเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และโอนเมืองจากฝ่ายกรมท่ามาขึ้นเป็นฝ่ายกลาโหมตั้งแต่นั้นมา ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชดำริที่จะปรับปรุงบูรณะหัวเมืองชายฝั่งตะวันตกที่ถูกพม่าตี จึงได้แต่งตั้งข้าราชการมาเป็นเจ้าเมือง และให้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ โดยแต่งตั้งให้พระยาบริรักษ์ภูธร (แสง ณ นคร) เป็นเจ้าเมืองพังงาคนแรกในปี 2383 ต่อมาเมืองตะกั่วทุ่งถูกยุบเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองพังงา ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 7 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ที่ประชุมเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตจึงมีมติให้ยุบเมืองตะกั่วป่าขึ้นกับจังหวัดพังงาด้วย ตั้งแต่ พ.ศ. 2474 เป็นต้นมา แรกเริ่มที่ตั้งเป็นเมืองนั้นสถานที่ราชการอยู่ที่บ้านชายค่าย ต่อมา พ.ศ. 2473 จึงได้มาสร้างศาลากลางจังหวัดขึ้นที่บ้านท้ายช้าง ครั้น พ.ศ. 2515 จึงได้สร้างศาลากลางหลังใหม่ขึ้นบริเวณหน้าถ้ำพุงช้างจนถึงปัจจุบัน จังหวัดพังงาแบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอคุระบุรี อำเภอทับปุด อำเภอกะปง อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง และอำเภอเกาะยาว
สถานที่ท่องเที่ยว

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ อำเภอคุระบุรี จ.พังงา เป็นหมู่เกาะในทะเลอันดามันห่างจากฝั่งไปทางทิศตะวันตกประมาณ 70 กิโลเมตร เป็นหมู่เกาะที่อยู่ติดกับเขตชายแดนไทย-พม่า มีพื้นที่ประมาณ 84,375 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่บนบกประมาณ 20,594 ไร่ ประกอบด้วยเกาะสำคัญ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะไข่ (เกาะตอรินลา) เกาะกลาง (เกาะปาจุมบา) และเกาะรี (เกาะสต๊อก) ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2524 เป็นหมู่เกาะที่มีแนวปะการังน้ำตื้นที่สมบูรณ์สวยงาม มีปลาสีสันต่าง ๆ มากมาย เป็นแหล่งสำหรับเหมาะชมปะการังน้ำตื้น โดยเฉพาะเกาะตอรินลา สำหรับบริเวณที่เหมาะจะดำน้ำลึก คือ กองหินริเชลิว อยู่ห่างจากเกาะสุรินทร์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 10 กิโลเมตร เป็นแหล่งที่สมบูรณ์ด้วยธรรมชาติใต้ทะเล มีปลาหลายพันธุ์ ปะการังสีสวย และเป็นจุดที่มีโอกาสพบฉลามวาฬ ที่ได้ชื่อว่าเป็นยักษ์ใหญ่ใจดีแห่งท้องทะเลมาว่ายให้เห็นอยู่เสมอ ช่วงเวลาที่เหมาะจะเดินทางท่องเที่ยวคือ เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน ส่วนเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม เป็นช่วงที่มีลมมรสุม ฝนตกชุก คลื่นลมแรง คลิกอ่านรายละเอียด เรื่องสถานที่ท่องเที่ยวและข้อมูลที่พัก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ที่นี่เลยจ้า
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน อำเภอคุระบุรี จ.พังงา

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ประกอบด้วยพื้นดินที่เป็นเกาะต่างๆ เขาหินแกรนิตสูงชัน หาดทราย โขดหิน ลักษณะรูปร่างต่างๆ ชายฝั่งของเกาะต่างๆ มีลักษณะเว้าแหว่งไม่เป็นระเบียบ เนื่องจากตั้งอยู่ในส่วนทะเลนอก ได้รับอิทธิพลจากการกัดเซาะของคลื่นทะเลโดยตรง เรียงตัวตามแนวทิศเหนือใต้ พื้นน้ำเป็นส่วนหนึ่งของทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดียตะวันออก บริเวณไหล่ทวีปติดชายฝั่งตะวันตกของจังหวัดพังงาและประเทศพม่า คู่ขนานกับแนวเกาะนิโคบาร์ ที่เป็นไหล่ทวีปของประเทศอินเดีย ตามชายหาดหรือสันทรายจะไม่มีดินเลนให้เห็นจึงเป็นชายหาดที่ขาวสะอาด สวยงาม อนุภาค ทรายมีขนาดเล็กละเอียด ส่วนที่เป็นยอดเขาจะเป็นเขาโดดสูงชัน ยอดเขาสูงสุดมีความสูง 244 เมตร จากระดับน้ำทะเล บางเกาะมีลักษณะแบนราบล้อมรอบด้วยเนินทรายและแนวปะการัง



เมืองพังงา







อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
มีพื้นที่ประมาณ 250,000 ไร่ ครอบคลุมอำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว
อุทยานฯแห่งนี้เป็นอุทยานแห่งชาติประเภทชายฝั่งทะเล แห่งที่สองของประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลและเกาะน้อยใหญ่ มีเขาหินปูนลักษณะต่าง ๆ ที่มีความงามแตกต่างกันไป
ตามลักษณะของหินสมบูรณ์ด้วยป่าชายเลน และยังเป็นแหล่งขยายพันธุ์สัตว์น้ำอีกด้วย
ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2524 ช่วงที่เหมาะจะมาท่องเที่ยวคือ
เดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายนส่วนเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมเป็นช่วงที่ฝนตกชุก คลื่นลมแรง


ถ้ำลอด

เป็นภูเขาลักษณะเกาะทะลุ ปากถ้ำกว้างประมาณ 50 เมตร สูง 40
เมตร เรือขนาดเล็กสามารถแล่นผ่านทะลุไปอีกด้านของถ้ำได้
บนเพดานถ้ำมีหินย้อยดูแปลกตา

ถ้ำช้าง

ถ้ำช้าง อ้อมไปทางด้านหลังศาลากลางจังหวัด 200 เมตร ถึงทางเข้าปากถ้ำ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
เคยเสด็จประพาสถ้ำนี้ มีรอยจารึกพระปรมาภิไธยย่ออยู่ที่หน้าถ้ำ
ในถ้ำมีแอ่งน้ำซับธรรมชาติซึมขึ้นมาจากใต้พื้นดิน แล้วถูกคันเขื่อน
ขวางกั้นเอาไว้ น้ำจะล้นคันเขื่อนออกมาตลอดทั้งปีมีพระพุทธรูป
ประดิษฐานอยู่มีหินงอกหินย้อยสวยงามมากครับ



ถ้ำพุงช้าง

อยู่ในเขตเทศบาลเมืองพังงาหลังศาลากลางจังหวัดหลังก่อนเข้าตัวตลาด
พังงามีทางราดยางเข้าไป 500 เมตรถึงวัดประพาสประจิมเขต
แล้วเดินเข้าไปยังถ้ำในบริเวณวัดได้สภาพภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อย
สวยงามมากครับ
มหัศจรรย์ธรรมชาติที่ซ่อนเร้นใต้ภูเขาสูง จังหวัดพังงา...โดย พิศ
ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ท้าทายน่าสัมผัส
ลุยน้ำในถ้ำมืดที่เต็มไปด้วยหินงอกหินย้อย สวยแปลกตา
ผจญภัยกับการเดินลุยน้ำท่ามกลางความมืดสนิท


วนอุทยานสระนางมโนห์รา


วนอุทยานสระนางมโนห์รา หรือธารน้ำตกสระนางมโนห์รา อยู่ในเขตตำบลนบปริง อำเภอเมือง
การเดินทางไปชมธารน้ำตกสระนางมโนห์รานี้ใช้เส้นทางพังงา-กระบี่
(ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4) ไป 3 กิโลเมตร
แล้วแยกขวาข้างสถานีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตไปอีก 3 กิโลเมตร ถึงบริเวณธารน้ำตกครับ




ถ้ำฤาษีสวรรค์และลูกถ้ำเสือ

ถ้ำฤาษีสวรรค์และถ้ำลูกเสือ อยู่ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ริมถนนเพชรเกษมเยื้องกับศาลากลางจังหวัด
เป็นถ้ำที่สามารถทะลุถึงกันได้โดยมีถ้ำฤาษีสวรรค์อยู่ด้านหน้า ภายในถ้ำมีธารน้ำใสและมีหินงอกหินย้อย
ด้านหน้าถ้ำเป็นสวนสาธารณะ



เกาะยาว

ถ้ามาเกาะยาวให้ลืมเรื่องเที่ยวผับบาร์ได้เลยครับ เพราะตอนนี้ยังไม่เจริญมากถึงขนาดนนั้น
มาเที่ยวที่นี่ต้องเที่ยวแบบธรรมชาติ ถึงจะได้บรรยากาศ เพราะว่าหมู่เกาะที่นี่สวยงามมากๆ
มีเกาะเล็กเกาะน้อยรอบๆ เกาะยาวน้อย และเกาะยาวใหญ่นับร้อยเกาะ


อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่

อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอตะกั่วป่า อำเภอกะปง
อำเภอท้ายเหมืองและอำเภอเมือง จังหวัดพังงา เนื้อที่ประมาณ 78,125 ไร่ หรือ 125
ตารางกิโลเมตร ได้ประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 66 ของประเทศไทย เมื่อเดือน
สิงหาคม 2534พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ มีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนได้แก่
เขาหลัก เขาลำรู เขาแสงทอง เขาไม้แก้วและเขาปลายบางโต๊ะ มียอดเขาที่สูงที่สุดประมาณ 1,077
เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำที่สำคัญในจังหวัดพังงาได้แก่ แม่น้ำพังงา
และแม่น้ำตะกั่วป่า ซึ่งประกอบด้วยคลองและลำห้วยเล็กๆ มากมาย ได้แ่่่ก่ คลองบางเนียง
คลองบางลาโอน คลองเก้า คลองลำรูด้วน คลองลำรูใหญ่ คลองทุ่งคาโงก และคลองกะปง เป็นต้น
พืชพรรณ & สัตว์ป่า
พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ เป็นพื้นที่เทือกเขาสูงชัน สังคมพืชที่พบจึงเป็นป่าดงดิบจะพบป่าชายหาดบ้างในบริเวณชายทะเล
เขาหลัก พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ จิกเล สนทะเล และลำเจียก สำหรับพันธุ์ไม้ที่พบเห็นได้ทั่วไปของป่าดงดิบได้แก่ ไม้ยาง พยอม หลุมพอ บุนนาค กระบาก
ส้าน ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียนทราย มะไฟ ตาเสือ และสะตอป่า ฯลฯ สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในแถบนี้ได้แก่ สมเสร็จ เสือ เลียงผา ลิง ค่าง ชะนี กวาง
เก้ง หมูป่า หมีควาย กระรอก กระแต เห่าช้าง เหี้ย ตะกวด และนกนานาชนิด เช่นนกหว้า นกเงือก นกหัวขวาน ไก่ป่า นกแซงแซว นกเอี้ยงสาริกา
นกขุนทอง นกโพระดก นกพญาไฟ และนกปรอด เป็นต้น


หาดบางสัก

หาดบางสัก อยู่ในท้องเที่ตำบลบางม่วงริมถนนสาย
เพชรเกษมช่วงท้ายเหมือง-ตะกั่วป่า กิโลเมตรที่76-77
มีทางแยกซ้ายมือเข้าไป 100 เมตรชายหาดบางสักมี
หาดทรายขาวสะอาดยาวขนานกับทิวสนร่มรื่น
มีที่พักและร้าน อาหารเปิดบริการแก่นักท่องเที่ยวด้วยครับ



อุทยานแห่งชาติเกาะสิมิลัน

อยู่ตำบลเกาะพระทอง ครอบคลุมพื้นที่ 80,000 ไร่ ประกาศเป็นเขตอุทยานฯ
เมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2525 คำว่า “สิมิลัน”เป็นภาษายาวี หรือ มลายู แปลว่า เก้า
หรือ หมู่เกาะเก้า หมู่เกาะสิมิลันเป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ในทะเลอันดามัน มีทั้งหมด
9 เกาะ เรียงลำดับจากเหนือมาใต้ ได้แก่ เกาะหูยง เกาะปายัง เกาะปาหยัน
เกาะเมี่ยง (มี 2 เกาะติดกัน) เกาะปายู เกาะหัวกระโหลก ( เกาะบอน)เกาะสิมิลัน
และเกาะบางู ที่ทำการอุทยานฯ อยู่ที่เกาะเมี่ยงเพราะเป็นเกาะที่มีน้ำจืด
หมู่เกาะเหล่านี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความงามทั้งบนบก
และใต้น้ำที่ยังคงความสมบูรณ์ของท้องทะเล สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก มีปะการังที่มีสีสันสวยงามหลากชนิด ปลาหลากสีสันและหายาก เช่น กระเบนราหู ปลาวาฬ
ปลาโลมา ปลาไหลมอนเร่ ปลาการ์ตูน ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงที่น่าท่องเที่ยวมากที่สุด ส่วนเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน
เป็นฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีคลื่นลมแรงเป็นอันตรายต่อการเดินเรือและทางอุทยานฯ จะประกาศปิดเกาะในเดือนพฤษภาคมเพื่อเป็นการฟื้นฟูธรรมชาติทุกปี